6 เคล็ดลับ ในการฉีดยาชาอย่างไรให้ “ไม่เจ็บ”

Share Now —

หลายท่านคงเคยกังวลกับการที่จะต้องฉีดยาถ้าจำเป็นก็พอว่าแต่พอจะทำเพื่ออะไรที่หลีกเลี่ยงได้อย่างเช่นฉีดวิตามินเข้าเส้นหรือฉีดยาชาเพื่อจะทำการผ่าตัดอะไรสักอย่างก็อยากเลือกที่จะไม่เจ็บหรือเจ็บน้อยที่สุดซึ่งการจะทำให้ไม่เจ็บนี้นอกจากความตั้งใจของหมอที่จะฉีดยาแล้วนั้นเทคนิคต่างๆที่ช่วยลดการเจ็บตอนแทงเข็มก็สำคัญไม่แพ้กันวันนี้เราจึงรวบรวม 6 เทคนิคในการทำให้“ไม่เจ็บ” ตอนฉีดยามาให้ทราบกัน 

 

 

การใช้เข็มขนาดเล็ก

เข็มที่ใช้ฉีดยาชานั้นมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับคุณหมอจะเลือกใช้ซึ่งเข็มที่ใช้จะมีรหัสเป็นตัวเลขต่อด้วยตัวอักษรG ซึ่งย่อมาจากคำว่าguage ที่แปลว่าการวัด โดยยิ่งตัวเลขมีค่ามากขนาดเข็มก็จะยิ่งเล็กลงเช่น เข็มขนาด 25G จะมีขนาดใหญ่กว่าเข็มเบอร์ 27G เป็นต้น

 

ข้อดีสำคัญของการเลือกใช้เข็มเบอร์เล็กนั้น  คือ เจ็บน้อย แต่ถ้าสารหรือยาที่เราใช้ฉีดนั้นมีความหนืดมากทำให้ดันยาผ่านเข็มยากขึ้น ก็จะส่งผลต่ออาการเจ็บที่มากขึ้น เช่นกัน อย่างไรก็ตามหากใช้กับยาชาจะไม่พบปัญหาโดยขนาดเข็มที่แนะนำให้เลือกใช้จะอยู่ที่ 30G ซึ่งเหมาะกับบริเวณที่ไวต่อความรู้สึกเช่น ใบหน้าตา จมูก หรือบริเวณฝ่ามือส่วนบริเวณอื่นๆ ที่ไม่ไวมาก และบริเวณผิวหนังที่มีความหนาเช่นบริเวณลำตัวหรือหลังอาจเลือกใช้เข็มที่ใหญ่ขึ้นเช่น เบอร์ 27G ดังนั้นการเลือกขนาดเข็ม (ซึ่งไม่เกี่ยวกับขนาดของsyringe หรือหลอดฉีดยา) เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการลดความเจ็บตอนฉีด

 

การแทงเข็มให้ตั้งฉาก

 ด้วยเส้นประสาทใต้ผิวหนัง จะเรียงตัวในแนวตั้งฉากการวางเข็มให้ตั้งฉากสามารถช่วยลดจำนวนของปลายเส้นประสาทที่ถูกเข็มได้ จึงเหมาะกับการฉีดจุดแรก (First shot) เพราะความเจ็บตอนแทงที่แรกนี้จะส่งผลถึงความประทับใจและการจดจำได้ดีมาก เพราะถ้าแทงเข็มแรกเจ็บแล้วคนถูกแทงจะเสียความรู้สึกและมีความทรงจำที่ไม่ดีติดตัวไป

 

การเดินยาแบบช้าาาาาาาา.....มาก

ความเจ็บจากการฉีดยานอกจากจะเกิดจากการแทงเข็มแล้วยังมีอาการปวดที่เกิดจากการเดินยาชาอีกด้วยดังนั้นการเดินยาแบบช้าถึงช้ามากจึงมีส่วนสำคัญและยิ่งไปกว่านั้นอาจใช้วิธีหยุดการเดินยาเป็นจังหวะเพิ่มเพราะช่วยให้ลดระดับความเจ็บลงและทำให้การทนได้ของผิวหนังมีมากขึ้น

วิธีการเดินยาลักษณะนี้ จึงขึ้นอยู่กับความใส่ใจของแพทย์ ที่ทำการฉีดยามาก เพราะบางครั้งการรีบฉีดแบบทีเดียวจบอาจก่อให้เกิดความปวดได้มากกว่า

 

การฉีดยาชารอบๆ จุดที่แทงเข็ม

เมื่อเราแทงเข็มผ่านผิวหนังไปแล้วการเดินยาให้กินบริเวณรอบๆปลายเข็ม จะช่วยลดความเจ็บเวลาขยับเข็มได้มาก เพราะหากยังรู้สึกในบริเวณที่แทงเข็มอยู่พอมีการขยับเข็มจะรู้สึกเสียวหรือถึงขั้นเจ็บได้

 

การไล่เขยิบพื้นที่การฉีด

หมายถึงการฉีดยาชาบริเวณกว้างโดยจะทำการฉีดในบริเวณที่เจ็บน้อยที่สุดก่อนพอเริ่มชาค่อยขยับจุดที่ฉีดไปบริเวณถัดไปวิธีนี้จะทำให้ไม่ต้องเจ็บเหมือนใหม่ ในทุกครั้งของการฉีดยาชา ยกตัวอย่างเช่น การฉีดยาชาจมูก บริเวณที่เจ็บน้อยสุดคือตรงสันจมูกระหว่างหัวตาแนะนำให้เริ่มจากตรงนี้แล้วทำการเดินยาไปหาปลายจมูกมากขึ้นพอเริ่มชาแล้วการฉีดยาชาที่บริเวณปลายจมูกซึ่งมีความไวและเจ็บได้ง่ายที่สุดก็จะไม่เจ็บมากเหมือนอยู่ๆมีเข็มมาแทงเลยซึ่งการทำเช่นนี้ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าบริเวณใดควรเริ่มก่อนบริเวณใดควรทำท้ายสุดจะช่วยลดอาการเจ็บได้มาก

 

เทคนิกข้อสุดท้าย คือ การฉีดแบบสองชั้น

หมายถึงการเริ่มฉีด เดินยาตอนแรกให้ลงไปที่ใต้ผิวหนังชั้นลึกก่อนเพราะมีปลายเส้นประสาทน้อยกว่าการเดินยาจะไม่ค่อยปวดมากพอเริ่มมีอาการชาแล้วแต่ยังไม่พอสำหรับการผ่าตัดจะทำการถอยเข็มให้ตื้นขึ้นแล้วค่อยทำการเดินยาชาให้บริเวณผิวหนังชั้นตื้นต่อไป

วิธีนี้ช่วยลดความเจ็บปวดตอนเดินยาได้มาก เพราะการเดินยาที่ผิวหนังในทันที จะมีอาการเจ็บปวดที่มากกว่าเนื่องจากเส้นประสาทก่อนเกิดอาการชาจะได้รับแรงกดเบียดจากยาที่เราดันเข้าไปจึงควรทำให้บริเวณนั้นชาได้สักนิดก่อนแล้วค่อยฉีดยาเข้าไปตรงๆจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้

 

เทคนิกต่างๆเหล่านี้จะยิ่งได้ผลดีมากขึ้นถ้าเราสามารถทำให้บริเวณที่จะฉีดยามีอาการชาไว้ก่อนไม่ว่าจะเป็นการโปะน้ำแข็งหรือการทายาชาทิ้งไว้ล่วงหน้าซึ่งในปัจจุบัน เรามีเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การฟรีซความเย็น ด้วยเครื่องมือพิเศษซึ่งจะทำให้ปลายประสาทบริเวณที่จะฉีดเกิดอาการชาก่อนทำให้ช่วยบรรเทาอากรเจ็บจากการฉีดยาได้ดีโดยทางเราจะนำข้อมูลดังกล่าวมาแนะนำในบทความต่อๆ ไป 

 

พร้อมเพิ่มความมั่นใจหรือยัง ?